วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มารยาทบนโต๊ะอาหาร แบบยุโรปและแบบอเมริกัน (Dining Etiquette: European vs. American Dining Style)



ใน สังคมยุคโลกาภิวัฒน์อย่างในปัจจุบัน มารยาทที่ควรมีเมื่อคุณนั่งรับประทานอาหารอาจจะเป็นเรื่องที่น่าสับสน แม้กระทั่งกับคนที่เดินทางมาแล้วทั่วโลกก็ตาม แต่ในสังคมตะวันตก เรา แบ่งมารยาทบนโต๊ะอาหารออกเป็นสองแบบใหญ่ๆเท่านั้นค่ะ คือแบบยุโรป (European Dining Style) และ แบบอเมริกัน (American Dining Style)
สำหรับมารยาทบนโต๊ะอาหารทั้งสองแบบนั้น เมื่อคุณนั่งลงที่โต๊ะ คุณจะสังเกตเห็นผ้าเช็ดปาก (napkin) ค่ะ ซึ่งคุณจะต้องคลุมผ้าเช็ดปากนี้ไว้บนตักทันทีที่นั่งลงที่โต๊ะอาหาร ตอนนี้ฉันมีผ้าเช็ดปากอยู่สองแบบ ผืนหนึ่งใหญ่กว่าอีกผืน ผืนที่เล็กกว่านี้เป็นผ้าเช็ดปากสำหรับอาหารมื้อกลางวัน (lunch napkin) ส่วนผืนที่ใหญ่กว่าเป็นผ้าเช็ดปากสำหรับอาหารมื้อค่ำ (dinner napkin) ค่ะ
ผ้า เช็ดปากสำหรับมื้อกลางวัน เนื่องจากมันมีขนาดเล็กกว่า เมื่อคุณจะคลุมมันไว้บนตัก คุณต้องคลีมันออกทั้งผืนแล้วจึงวางคลุมไว้บนตักค่ะ ส่วนผ้าเช็ดปากสำหรับมื้อค่ำนั้นจะต่างกันเล็กน้อยค่ะ เนื่องจากมันมีขนาดใหญ่กว่า เราจะคลี่ออกจนเหลือไว้ครึ่งผืน แล้ววางคลุมไว้บนตัก โดยหันด้านปิดเข้าหาตัวค่ะ

การเริ่มรับประทานอาหารของทั้งสองแบบจะเริ่มเหมือนกันค่ะ กล่าวคือ ถือส้อม (fork) ไว้ในมือซ้าย โดยคว่ำส้อมลงและวางนิ้วชี้ (index finger) ไว้หลังส้อม มือขวาถือมีด โดยคว่ำด้านคมของมีดลงและวางนิ้วชี้ไว้บนด้ามด้านหลังมีดค่ะ
เมื่อคุณตัด อาหารเป็นชิ้นพอดีคำเสร็จ ในมารยาทบนโต๊ะอาหารแบบยุโรปนั้น ส้อมจะยังคงอยู่ในมือซ้าย และจิ้มอาหารเข้าปาก โดยที่ส้อมจะอยู่ในลักษณะคว่ำอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจะออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ เมื่อคุณต้องการทานอาหารที่นิ่มกว่าหรือผักในจาน วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ให้ใช้ส้อมจิ้มไปที่ผักหรือเนื้อชิ้นนั้นแล้วค่อยๆใช้มีดช่วยดัน ให้ใช้ส้อมจิ้มได้ถนัดขึ้นค่ะ
สำหรับมารยาทบนโต๊ะอาหารแบบอเมริกันนั้น จะต่างออกไปเล็กน้อยค่ะ เริ่มเหมือนกันคือตัดอาหารเป็นชิ้นพอดีคำก่อน จากนั้นก็วางมีดลงตรงมุมด้านบนของจาน แล้วเปลี่ยนมือจับส้อมมาเป็นมือขวา โดยจับให้ส้อมหงายขึ้น มือซ้ายต้องวางไว้ที่ตักเสมอ ห้ามนำมาวางท้าวไว้บนโต๊ะเด็ดขาด และเมื่อนำอาหารเข้าปากส้อมจะอยู่ในตำแหน่งหงายค่ะ ทำให้ดูอีกครั้งนะคะ ตัดอาหารก่อน วางมีดไว้มุมบน เปลี่ยนมาจับส้อมด้วยมือขวา มือซ้ายที่ว่างอยู่วางไว้บนตัก และนำอาหารเข้าปากโดยส้อมหงายไว้ค่ะ
บางครั้งขณะรับประทานอาหาร คุณอาจจะรู้สึกอยากพักสักครู่โดยที่คุณยังทานไม่เสร็จ เราเลยมีท่าทางที่จะส่งสัญญาณบอกบริกรได้ว่า คุณยังทานไม่เสร็จ แค่พักการรับประทานอาหารสักครู่ค่ะ วิธีการก็คือวางส้อมและมีดไว้เป็นมุมฉากคว่ำบนจาน แบบนี้ค่ะ ส้อมต้องวางคว่ำไว้ และด้านคมของมีดต้องหันไว้ด้านในค่ะ จริงๆแล้วมันขึ้นอยู่กับว่าตอนนั้นคุณยังเหลืออาหารในจานมากน้อยแค่ไหน ถ้ายังเหลือมากหน่อยก็อาจจะวางส้อมและมีดไว้ห่างกันหน่อย หรือถ้าเหลือน้อยก็อาจจะวางไว้ใกล้กัน หรือซ้อนกันไว้เล็กน้อยก็ได้เหมือนกันค่ะ
สำหรับมารยาทบนโต๊ะอาหารแบบอเมริกัน เมื่อคุณหยุดพักการรับประทานอาหาร มือทั้งสองข้างจะต้องอยู่บนตักเสมอ ยกเว้นเวลาเอื้อมมือมาหยิบแก้วเพื่อดื่มน้ำ แต่ในแบบยุโรป มือและข้อมือของคุณจะต้องอยู่เหนือโต๊ะตลอดเวลาค่ะ
อย่างไรก็ตาม ทั้ง สองแบบเหมือนกันตรงที่ ห้ามท้าวศอกหรือแขนไว้บนโต๊ะจนกว่าคุณจะรับประทานอาหารเสร็จและจานและ อุปกรณ์ทั้งหมดได้ถูกยกเก็บไปเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีท่าทางอีกอย่างที่จะส่งสัญญาณบอกบริกรได้ว่าคุณรับประทานอาหารเสร็จ เรียบร้อยแล้วค่ะ นั่นคือการรวบส้อมและมีดไว้คู่กันแล้ววางเฉียงไว้ตรงมุมขวาของจาน หรือถ้าคิดถึงนาฬิกาก็จะเป็นตำแหน่งประมาณสี่นาฬิกาค่ะ จะวางส้อมหงายหรือคว่ำไว้ก็ได้ แต่ด้านคมของมีดต้องไว้ด้านใน คือหันไปทางส้อมเสมอค่ะ
และนั่นเป็นมารยาทบนโต๊ะอาหารสองแบบในวัฒนธรรมตะวันตกค่ะ เลือกใช้ในแบบที่เหมาะสม และมีความสุขกับการรับประทานอาหารได้เลยค่ะ

หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

1.หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ



Unit II:  Subject, Verb, Object




Unit IV:  Passive
















ประโยค คือส่วนที่สำคัญที่สุดในโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เพราะในชีวิตประจำวัน เรามักพูดออกมาเป็นประโยค เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ แต่ประโยคนั้นประกอบขึ้นด้วยคำต่างๆ ดังนั้นถ้าเราจะเริ่มศึกษาวิธีการแต่งประโยค เราจึงต้องเริ่มต้นศึกษาจากคำก่อน
Words
ชนิดของคำในภาษาอังกฤษมี 8 ชนิดด้วยกัน คือ
1. Nouns (คำนาม)
เช่น God, man, John, American, friend, star, stone, air, mile, beauty ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ แนวคิด นามธรรม และความเชื่อ
2. Pronouns (คำสรรพนาม)
เช่น I, you, he, she, my, your, his, that, who, what, which, one, some ใช้เรียกแทนคำนาม จะได้ไม่ต้องเอ่ยนามนั้นซ้ำอีก
ตัวอย่าง:
  John works at the hospital.
  He is a doctor.
  Kate is my friend.
  I know her well.
  A book is on the desk.
  The book which is on the desk is about history.
  The children are playing outside.
  Some of them are crying.
3. Adjectives (คำคุณศัพท์)
ใช้ขยาย noun กับ pronoun เพื่อบรรยายให้เห็นลักษณะของ noun กับ pronoun ชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็น adjective สำหรับบอกลักษณะ บอกปริมาณ และบอกจำนวน
     - Qualifier Adjectives หรือคำคุณศัพท์ที่ใช้บอกลักษณะ เช่น beautiful, healthy, kind, poor, fast, dry, black
ตัวอย่าง:
Noun
Adj. + Noun
Adj. + Adj. + Noun
  An apple
  A red apple
  A crisp, red apple
  A girl
  A tall girl
  A beautiful, tall girl
     - Quantifier Adjectives หรือคำคุณศัพท์ที่ใช้บอกปริมาณ เช่น many, much, few, little
ตัวอย่าง:
Noun
Adj. + Noun
  An apple
  Many apples
  money
  A little money
     - Numeral Adjectives หรือคำคุณศัพท์ใช้บอกจำนวนนับลำดับที่ เช่น one, two, three, first, second
ตัวอย่าง:
Noun
Adj. + Noun
  A house
  Two houses
  Floor
  First floor
4. Verbs (คำกริยา)
เช่น go, take, fight, speak, sleep, wait ใช้แสดงกริยาอาการต่างๆ เป็นส่วนสำคัญในภาคแสดงของประโยค นอกจากนี้ คำกริยายังแบ่งได้เป็น กริยาแท้ และกริยาไม่แท้
     - Finite Verbs กริยาแท้หรือคำกริยาที่สามารถผันตามประธานและรูปกาลได้
     - Non-finite Verbs (Verbals) กริยาไม่แท้ ไม่สามารถเปลี่ยนรูปได้
ตัวอย่าง: verb "be" มีกริยาในรูปต่างๆ ดังนี้
  Finite Form
  Am, is, are, was, were
  Non-finite Form
  Infinitive = to be
  Present Participle = being
  Past Participle = been
  Gerund = being
. Adverbs (คำวิเศษณ์)
เช่น well, fast, long, gently, recently, again, yesterday, soon, rather, perhaps, not
ใช้ขยาย verb, adverb, adjective, preposition, conjunction, phrase, sentence เพื่อเพิ่มความหมายให้กับสิ่งที่ถูกขยาย
ตัวอย่าง:
  ขยาย  verb
  He walks.
  He walks fast.
  ขยาย  adverb
  The dog grows quickly.
  The dog grows very quickly.
  ขยาย  adjective
  It is hot today.
  It is surprisingly hot today.
  ขยาย  preposition
  My cat sits beside me.
  My cat sits right beside me.
  ขยาย  conjunction
  She will come though it is late.
  She will come even though
   it is late.
  ขยาย  phrase
  The hotel is on the top of
   the mountain.
  The hotel is nearly on the top of
   the mountain.
  ขยาย  sentence
  The bus leaves at 10 p.m.
  However, the bus leaves at
   10 p.m.
6. Prepositions (คำบุพบท)
เช่น at, in, into, of, for ใช้เชื่อมกริยากับส่วนต่างๆ ของประโยค เพื่อบอกเวลา สถานที่ และทิศทาง ทำให้ประโยคสมบูรณ์
ตัวอย่าง:
  In
  He is in the pool.
  On
  There is a mark on your shirt.
  At
  He always arrives late at school.
  Against
  A woman is standing against the door.
  Up to
  I sleep up to 8 hours a day.
7. Conjunctions (คำสันธาน)
เช่น and, but, or, nor, that, if, because ใช้เชื่อมคำหรือประโยค มีทั้ง conjunction แบบคล้อยตาม ขัดแย้ง และเป็นเหตุเป็นผล
ตัวอย่าง:
  And
  Thais eat with a spoon and fork.
  But
  BMW is beautiful but expensive.
  Or
  Would you like coffee or tea?
  Neithe...nor
  Neither I nor she speaks Spanish.
  Because
  Tim passed the exam because he studied hard.
8. Interjections (คำอุทาน)
เช่น oh, alas, hurrah ใช้แสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ต่างๆ
ตัวอย่าง:
  Well
  Well! That’s expensive.
  Oh
  Oh! That’s great.
ในภาษาอังกฤษคำหนึ่งคำอาจจะเป็นได้มากกว่าหนึ่งชนิด แต่เมื่อใช้ในบริบทหนึ่งๆ แล้ว คำๆ นั้นจะทำหน้าที่ได้แค่เพียงอย่างเดียว เช่น อาจจะเป็น verb หรือ noun หรือ อาจเป็น adverb หรือ preposition ก็ได้ ตัวอย่างเช่น

  Look:
Look at that. (Look = verb)
Let me have a look at that. (look = noun)
  Walk:
He walked all the way here. (walked = verb)
He is taking a walk. (walk = noun)
  In:
Is John in? (in = adverb)
In the house. (In = preposition)
  Up:
He climbed up. (up = adverb)
Climb up the wall. (up = preposition)
  After:
He looked before and after. (after = adverb)
His dog trotted after him (after = preposition)
After we had left... (After = conjunction)